ข้อมูลพื้นฐาน
บริบทของจังหวัดสระบุรี


ที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต1

ถนนมิตรภาพ ตำบลปากเพียว อำเภอเมืองสระบุรี 18000
โทรศัพท์ 036-351-800 , 036-351804
โทรสาร 036-351798
e-mail : director.sbr1@obecmail.obec.go.th

สภาพทั่วไปของจังหวัดสระบุรี
            จังหวัดสระบุรี สระบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลาง ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เป็นระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,576.486 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วย 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอวิหารแดง อำเภอมวกเหล็ก อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอวังม่วง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ทิศใต้ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก อำเภอภาชี อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

            จังหวัดสระบุรี แบ่งหน่วยงานจัดการศึกษา ออกเป็น 2 เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ดังนี้
1. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 รับผิดชอบในการจัดการศึกษาใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอบ้านหมอ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 120 โรงเรียน





2. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 รับผิดชอบในการจัดการศึกษาใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง และอำเภอวังม่วง

ที่ตั้ง เนื้อที่ และอาณาเขต
            ที่ตั้งจังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานครประมาณเส้นรุ้งที่ 14 องศา 31 ลิปดา 43.59439 ฟิลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 1๐๐ องศา 54 ลิปดา 35.58478 ฟิลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ระยะทางประมาณ 108 กม. (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ศาลากลางจังหวัด) และตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ 113 กิโลเมตร และตามแม่น้ำเจ้าพระยาแยกเข้าแม่น้ำป่าสักประมาณ 165 กิโลเมตร

เนื้อที่
จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,576,486 ตร.กม. หรือประมาณ 2,235,304 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของพื้นที่ประเทศ

อาณาเขต
จังหวัดสระบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล และ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และอำเภอวังน้อย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอภาชี อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี





ลักษณะภูมิประเทศ
            พื้นที่จังหวัดสระบุรีเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณลุ่มน้ำที่ราบลุ่มภาคกลางรวมกับอีกส่วนหนึ่ง ของทิวเขาดงพญาเย็น สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 3 ลักษณะ คือบริเวณ ที่ราบลุ่มบริเวณเขาหย่อมหรือเขาเตี้ย และบริเวณเขาสูง
ลักษณะดิน
            โดยทั่วไปพบดินเหนียว ดินเหนียวปนทรายแป้ง ที่มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลวใช้ทำนาปลูกข้าว บางแห่งมีชั้นของสารจาไรไซท์อยู่ตื้น มีปฏิกิริยาเป็นกรด ซึ่งเป็นพิษต่อข้าว บางแห่งอาจมีน้ำท่วมทำให้ผลผลิตสูญเสีย สำหรับดินเหนียวที่มีการระบายน้ำดีและมีความลาดชันใช้สำหรับปลูกพืชไร่และไม้ผล บางแห่งพบชั้นกรวดหนาแน่นอยู่ตื้น และบางแห่งถูกกัดกร่อน ส่วนที่มีความลาดชันสูง ๆ จะเป็นภูเขาบางแห่ง พบชั้นหินพื้นอยู่ตื้นซึ่งใช้เป็นที่ป่า
ลักษณะภูมิอากาศ
            จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดที่มีลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical Aavanna Climate,Aw) ระบบจำแนกประเภทภูมิอากาศของ Koppen ซึ่งลักษณะภูมิอากาศแบบนี้จะมี ฝนน้อยแห้งแล้งในฤดูหนาว และอุณหภูมิค่อนข้างสูงในฤดูร้อนและค่อนข้างจะหนาวเย็นในฤดูหนาวและมี ฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
อุณหภูมิ
            จังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลางและอยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินปกติมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง จึงทำให้อากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวไม่หนาวจัดโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28 – 29 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 – 34 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 – 24 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวที่สุดในเดือนมกราคม
ฝน
            ฝนที่เกิดขึ้นในจังหวัดสระบุรี ส่วนใหญ่เป็นฝนจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และ ร่องความกดอากาศต่ำที่พัดผ่านประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วงฤดูฝน โดยตลอดทั้งปีมีจำนวนวันฝนตกเฉลี่ยประมาณ 70 – 90 วันนอกจากนี้ในบางปีอาจมีพายุดีเปรสชั่นเคลื่อนผ่านเข้ามาในบริเวณจังหวัดสระบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียงทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นได้อีก
ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำ และสภําพทํางเศรษฐกิจ
            ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ หินปูน หินดินดาน หินมาร์ล ดินลูกรัง และไพโรพิลไลทํ นอก’จาก’นี้มี’ป่าไม้ ซึ่งเป็นป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่ป่าประมาณ 37,061 ไร่ หรือร้อยละ 1.66 ของพื้นที่จังหวัด ไม้ที่สำคัญ ดือ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน และไม้มะค่าโมง

            จังหวัดสระบุรี มีแหล่งนี้าธรรมชาติที่สำคัญสำหรับใช้ในการอุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม ดือ เขื่อนป่าลักชลสิทธึ๋ และแม่นํ้าป่าลัก ซึ่งมีต้นกำเนิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ ไหลลงมาทางใต้ผ่านจังหวัด เพชรบูรณ์ อำเภอขัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปรวมกับแม่นี้าเจ้าพระยาที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ความยาวของแม่นํ้าป่าสักในส่วนที่ไหลผ่านจังหวัดสระบุรี ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร จากความยาวทั้งหมด ประมาณ 500 กิโลเมตร

ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่นพื้นเมือง และงานประจำปีของจังหวัดสระบุรี
            1. ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ บริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบล ขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จัดนมัสการปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 คํ่า ถึง 15 คํ่า เดือน 3 รวม 15 วัน ครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 8 คํ่า เดือน 4 รวม 8 วัน
            2. การแข่งขันเรือยาวประเพณีลุ่มนํ้าป่าสัก อำเภอเสาไห้ จัดให้มีการแข่งขันเป็นประเพณีที่ท่านํ้า หน้าที่ว่าการอำเภอเสาไห้ กำหนดให้มีการแข่งขันเป็นประจำทุกปี ในวันเสาร์ – อาทิตย์ สุดท้ายของเดือน กันยายน
            3. ประเพณีสงกรานต์สรงนํ้าพระ เสานางตะเคียนวัดสูง อำเภอเสาไห้ จัดให้มีประเพณีสรงนํ้า เสานางตะเคียน (เสาร้องไห้) เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณหน้าอุโบสถวัดสูง ตำบลเสาไห้ กำหนดจัดงานในวันที่ 22-23 เมษายนของทุกปี
            4. ประเพณีตักบาตรดอกไม้ วัดพระพุทธบาทราซวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท เป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี และมีแห่งเดียวในประเทศไทย โดยถือเอาวันเข้าพรรษา วันแรม 1 คํ่า เดือน 8 ของทุกปี และของที่นำมาใส่บาตร ดือ “ดอกเช้าพรรษา” ซึ่งขึ้นอยู่ตามไหล่เขาในละแวกวัด และจะมี เฉพาะในช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น เป็นงานประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของจังหวัดสระบุรี
            5. ประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้ว วัดพระพุทธบาทราซวรมหาวิหาร อำเภอพระพุทธบาท จัดใน วันขึ้น 1 คํ่า เดือน 4 มีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากพิพิธภัณฑ์วัดพระพุทธบาทราซวรมหาวิหารออกแห่ฉลอง รอบเมือง พระพุทธบาท ซึ่งมีความเชื่อว่า หากมีการแห่พระเขี้ยวแก้วแล้ว จะสามารถบันดาลให้ประซาซนได้รับ ความร่มเย็น เป็นสุข
            6. ประเพณีเจ้าพ่อเขาตก ที่บริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เป็นประเพณีประจำปี หรือเรียกว่า “งานแห่เจ้าพ่อเขาตก” ในงานจะมีการแสดงอภินิหารต่าง ๆ ของเจ้าพ่อเขาตกควบคู่กันไปกับการ กระทำพิธีลุยไพ่ แห่สิงโต และการแสดงงิ้ว จะมีซาวจีนที่เป็นลูกศิษย์อยู่ทั่วประเทศเดินทางมาร่วมงาน เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 คํ่า เดือน 5 รวม 4 วัน เป็นประจำทุกปี
            7. งานประเพณีกำฟ้า ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน เป็นประเพณีท้องถิ่นของซาวไทยที่พูด ภาษายวน ได้ทำสืบต่อเนื่องกันมากว่า 150 ปีเศษ ประกอบพิธีในวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 3 มีการทำบุญตักบาตร ด้วยข้าวจี่ (ดือข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้วปีนเป็นก้อนเท่าก0าป้นแล้วทาด้วยไข่ปังพอเหลือง) นอกจากนี้ยังมีพิธีสู่ขวัญข้าว ดือ น่าข้าวใส่ถุงมาทำพิธีเสร็จแล้วนำไปคลุกเคล้ากับพันธุข้าวที่บ้านเพื่อเป็นสิริมงคล
            8. งานประเพณีไท – ยวน ในถิ่นที่มีคนไทยยวนอาศัยอยู่โดยเฉพาะอำเภอเสาไท้ อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองสระบุรี จะมีการจัดงานเลี้ยงขันโตก การทำบุญแบบสลากภัต การละเล่นพื้นเมือง
            9. งานของดืสระบุรี กำหนดจัดงานในเดือนเมษายนของทุกปี มีกิจกรรมการแสดงสินค้า พื้นเมือง งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นสินค้าคุณภาพ
            10. งานวันโคนมแห่งชาติ กำหนดจัดงานในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี โดยจัดที่องค์การส่งเสริม กิจการ โคนมแห่งประเทศไทย อำเภอมวกเหล็ก ภายในงานจะมีการแสดงต่าง ๆ รวมถึงนิทรรศการด้านการผลิตนม



 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต1
ถนนมิตรภาพ ตำบลปากเพียว อำเภอเมืองสระบุรี 18000
โทรศัพท์ 036-351-800 , 036-351804 โทรสาร 036-351798
e-mail : director.sbr1@obecmail.obec.go.th